รับขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจ
รับขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจ
ดูแลตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ
มั่นใจได้! ผู้เชี่ยวชาญผลงานกว่า 10 ปี
ปรึกษาฟรี!
โทร 082-498-9442, 063-874-4562
หรือ กดปุ่มโทรออกได้เลย
รับโปรโมชั่นพิเศษ!
คลิกปุ่ม LINE
รับขอใบอนุญาตการประกอบธุรกิจ ดังนี้
- ขอใบอนุญาต ประกอบธุรกิจโรงแรม
- ขอใบอนุญาต เปิดกิจการร้านอาหารและภัตตาคารไทย
- ขอใบอนุญาต จำหน่ายสินค้า เช่น ไพ่ สุรา ยาสูบ
- ขอใบอนุญาต ประกอบธุรกิจนำเที่ยว
- ขอใบอนุญาต เปิดสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ (สปา)
- ขอใบอนุญาต ให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล (คลินิก)
- ขอใบอนุญาต จัดตั้งโรงเรียนเอกชนนอกระบบ
- ขอใบอนุญาต ประกอบกิจการหอพัก
- ขอใบอนุญาต นำเข้า-ส่งออก
- รับจดทะเบียน อ.ย. อาหาร/ยา/เครื่องสำอาง/เครื่องมือแพทย์/วัตถุอันตราย
ขอบเขตการรับขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจ
- จัดเตรียมเอกสารประกอบคำขออนุญาต
- ยื่นขอจดทะเบียนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
สำนักงานบัญชี ครบวงจร
MERIT ACC TAX
“รับทำบัญชี วางระบบบัญชี วางแผนภาษี
ปิดงบการเงิน ตรวจสอบบัญชี
ภาษีทั้งระบบ จบในที่เดียว”
ให้คำแนะนำการจัดทำเอกสารบัญชีตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร พร้อมเทคนิคประหยัดภาษีอย่างถูกต้องพร้อมให้บริการงานบัญชีและภาษี ทุกประเภทธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจโรงงานการผลิต ธุรกิจซื้อมาขายไป ธุรกิจบริการ ธุรกิจออนไลน์ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ธุรกิจอื่นๆไม่ว่าจะเป็น SMEs ขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่
มั่นใจได้! ผู้ประกอบการทั่วไทย
ครอบคลุมทุกกลุ่มธุรกิจ
ใช้บริการสำนักงานบัญชีกับเรา
One Stop Services
มาที่เดียวจบทุกเรื่องบัญชีและภาษี
- คุ้มเกินราคา : ทำบัญชีราคาเหมาะสม พร้อมปรึกษาธุรกิจที่เสมือนเป็นหุ้นส่วนที่จะคอยสนับสนุนธุรกิจท่านตลอดไป
- ประสบการณ์สูง : ด้วยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์ตรงกว่า 10 ปี เคลียร์ได้ทุกประเด็น
- ตรงเวลา : ด้วยคุณภาพและมาตรฐานเหมือนกันไม่ว่าท่านจะเป็นกิจการขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ก็ตาม
- มั่นใจได้ 100% : ผลงานดูแลลูกค้ากว่าทั่วไทย ชัดเจนทุกคำพูด เราเป็นบริษัทชั้นนำด้านรับทำบัญชี ที่ได้รับความไว้วางใจจากองค์กรมากมาย ในหลากหลายธุรกิจ ทั้งองค์กรธุรกิจขนาดเล็ก กลาง (SMEs) และใหญ่ เช่น
- รับทำบัญชี ธุรกิจออนไลน์ Facebook, Instagram, Shopee, Lazada, Tiktok
- รับทำบัญชี ธุรกิจซื้อมาขายไป
- รับทำบัญชี ธุรกิจให้บริการ
- รับทำบัญชี ธุรกิจอาหาร / ร้านอาหาร
- รับทำบัญชี ธุรกิจสุขภาพและความงาม
- รับทำบัญชี ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง
- รับทำบัญชี ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
- รับทำบัญชี ธุรกิจท่องเที่ยว / โรงแรม
- รับทำบัญชี ธุรกิจการพิมพ์ / บรรจุภัณฑ์
- รับทำบัญชี ธุรกิจปั้มน้ำมัน
- รับทำบัญชี ธุรกิจขนส่ง
- ฟรี! ให้คำปรึกษาตลอดการดำเนินการ
- ฟรี! แนะนำเทคนิคการประหยัดภาษีอย่างถูกต้อง
- ฟรี! เคลียร์ปัญหาด้านบัญชีและภาษีให้ด้วย
- ฟรี! ที่ปรึกษาธุรกิจ (Consult) ที่คอยสนับสนุนธุรกิจของท่านให้ราบรื่น
ปรึกษาฟรี!
โทร 082-498-9442, 063-874-4562
หรือ กดปุ่มโทรออกได้เลย
รับโปรโมชั่นพิเศษ!
คลิกปุ่ม LINE
ใบอนุญาตการประกอบธุรกิจต่างๆ
ใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม
โรงแรม คือ สถานที่พักที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในทางธุรกิจ เพื่อให้บริการที่พักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน ตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 แบ่งโรงแรมออกเป็น 4 ประเภท ดังต่อไปนี้
(1) โรงแรมประเภท ๑ หมายความว่า โรงแรมที่ให้บริการเฉพาะห้องพัก
(2) โรงแรมประเภท ๒ หมายความว่า โรงแรมที่ให้บริการห้องพักและห้องอาหาร หรือสถานที่สำหรับบริการอาหารหรือสถานที่สำหรับประกอบอาหาร
(3) โรงแรมประเภท ๓ หมายความว่า โรงแรมที่ให้บริการห้องพัก ห้องอาหารหรือสถานที่สำหรับบริการอาหารหรือสถานที่สำหรับประกอบอาหาร และสถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการหรือห้องประชุมสัมมนา
(4) โรงแรมประเภท ๔ หมายความว่า โรงแรมที่ให้บริการห้องพัก ห้องอาหารหรือสถานที่สำหรับบริการอาหารหรือสถานที่สำหรับประกอบอาหาร สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ และห้องประชุมสัมมนา
ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติโรงแรม มาตรา 15 ได้บัญญัติไว้ว่า“ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบธุรกิจโรงแรม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน” ดังนั้นผู้ที่จะประกอบธุรกิจโรงแรมจึงจำเป็นที่จะต้องขออนุญาตจากกระทรวงมหาดไทยก่อนประกอบกิจการ
ใบอนุญาตเปิดกิจการร้านอาหารและภัตตาคารไทย
ร้านอาหารเป็นกิจการที่เปิดง่าย ใคร ๆ ก็สามารถเปิดได้แต่การประกอบธุรกิจร้านอาหารนั้นจำเป็นต้องได้รับใบอนุญาตร้านอาหาร หรือ ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร (กรณีพื้นที่เกิน 200 ตร.ม.) หรือ หนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร (กรณีพื้นที่ไม่เกิน 200 ตร.ม.) จากเทศบาลที่ร้านอาหารตั้งอยู่เสียก่อน ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มาตรา 38 ซึ่งวางหลักเกณฑ์ไว้ว่า “ผู้ใดจะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใด ซึ่งมีพื้นที่เกิน 200 ตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาด ต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนการจัดตั้งถ้าสถานที่ดังกล่าวมีพื้นที่ไม่เกิน 200 ตารางเมตร ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อขอรับหนังสือรับรองการแจ้งก่อนการจัดตั้ง”
ใบอนุญาตจำหน่ายสินค้า เช่น ไพ่ สุรา ยาสูบ
ผู้ที่จะขายสุรา ยาสูบ (บุหรี่) และไพ่ ไม่ว่าจะขายส่งหรือขายปลีกในร้านค้าของตนเอง จะต้องยื่นขอใบอนุญาตขายสุรา ใบอนุญาตขายยาสูบ หรือ ใบอนุญาตขายไพ่ ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ที่ร้านค้าตั้งอยู่ เมื่อได้รับใบอนุญาตแล้วให้ติดใบอนุญาตไว้ในพื้นที่เปิดเผย
ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
ธุรกิจนำเที่ยว คือ ธุรกิจเกี่ยวกับการนำนักท่องเที่ยวเดินทางไปท่องเที่ยวหรือเดินทางไปเพื่อวัตถุประสงค์อื่น โดยจัดให้มีบริการหรือการอำนวยความสะดวกอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง อันได้แก่ สถานที่พัก อาหาร มัคคุเทศก์
พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 ได้กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวจำเป็นจะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวจากกรมการท่องเที่ยวก่อนจึงจะสามารถประกอบกิจการได้ และในการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวนั้น ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวจะต้องวางเงินหลักประกันการประกอบธุรกิจนำเที่ยวด้วย โดยธุรกิจนำเที่ยวแต่ละประเภทจะมีอัตราเงินหลักประกันแตกต่างกันไป ดังนี้
- การประกอบธุรกิจนำเที่ยวประเภทเฉพาะพื้นที่ หลักประกัน 10,000 บาท
- การประกอบธุรกิจนำเที่ยวประเภทนำเที่ยวภายในประเทศ หลักประกัน 50,000 บาท
- การประกอบธุรกิจนำเที่ยวประเภทนำเที่ยวจากต่างประเทศ หลักประกัน 100,000 บาท
- การประกอบธุรกิจนำเที่ยวประเภททั่วไป หลักประกัน 200,000 บาท
ใบอนุญาตเปิดสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ (สปา)
ตามพระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2559 “สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ” หมายความว่า สถานที่ที่ตั้งขึ้นเพื่อดำเนินกิจการดังต่อไปนี้
- กิจการสปา
- กิจการนวดเพื่อสุขภาพ
- กิจการนวดเพื่อเสริมความงาม
ผู้ประกอบกิจการเพื่อสุขภาพข้างต้นจะต้องมีใบอนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพจากกระทรวงสาธารณสุขก่อนเปิดกิจการทั้งนี้ผู้จัดการหรือผู้ดำเนินงานจะต้องขอใบอนุญาตเป็นผู้ดำเนินการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพด้วย
ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล (คลินิก)
ผู้ประกอบการท่านใดสนใจเปิดคลินิก ท่านจะต้องยื่นขออนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลกับกระทรวงสาธารสุขก่อนประกอบกิจการ มิเช่นนั้นจะมีโทษตามกฎหมาย เนื่องจากพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 มาตรา 16 กำหนดไว้ว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการสถานพยาบาล เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต” และมาตรา 24 กำหนดไว้ว่า “ห้ามมิให้บุคคลใดดำเนินการสถานพยาบาล เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต”
ใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียนเอกชนนอกระบบ
โรงเรียนเอกชนนอกระบบตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 หมายความว่า “โรงเรียนที่จัดการศึกษาโดยมีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา และให้หมายความรวมถึงศูนย์ศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) และสถาบันศึกษาปอเนาะ” ทั้งนี้การขอจัดตั้งโรงเรียนนอกระบบ ต้องเป็นไปตามกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนนอกระบบ พ.ศ. 2555
ประเภทและลักษณะของโรงเรียนนอกระบบ แบ่งได้ดังนี้
- ประเภทสอนศาสนา เป็นโรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะการสอนศาสนา
- ประเภทศิลปะและกีฬา เป็นโรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาเกี่ยวกับดนตรี ศิลปะ และกีฬา
- ประเภทวิชาชีพ เป็นโรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพเพื่อให้นักเรียนนำไปประกอบอาชีพหรือเพิ่มเติมทักษะในการประกอบอาชีพ
- ประเภทกวดวิชา เป็นโรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เสริมความรู้บางรายวิชาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- ประเภทสร้างเสริมทักษะชีวิตเป็นโรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เสริมสร้างความคิด เชาวน์ปัญญา และทักษะอื่น
- ประเภทศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) เป็นศูนย์การศึกษาที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ตามกฎหมายว่าด้วยศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา)
- ประเภทสถาบันศึกษาปอเนาะ เป็นสถาบันที่จัดตั้งขึ้นให้เป็นทางเลือกหนึ่งของชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์ตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนาะ
ผู้ประกอบการท่านใจประสงค์ที่จะจัดตั้งโรงเรียนเอกชนนอกระบบ จะต้องยื่นขออนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการก่อน โดยกรณีที่จัดตั้งโรงเรียนเอกชนนอกระบบในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน หากจัดตั้งในเขตจังหวัดอื่น ให้ยื่นคำขอที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่โรงเรียนจะจัดตั้งขึ้น
ใบอนุญาตประกอบกิจการหอพัก
ตามพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. 2558 แบ่งหอพักออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ หอพักชาย และ หอพักหญิงนอกจากนี้ยังแบ่งลักษณะของหอพักออกเป็น 2 แบบด้วยกัน คือ
- หอพักสถานศึกษา
- หอพักเอกชน
ผู้ที่ประกอบกิจการหอพักสถานศึกษาและหอพักเอกชนจะต้องยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการหอพัก จากกระทรวงมหาดไทย โดยผู้ที่ประกอบกิจการหอพักเอกชนจะต้องมีใบอนุญาตผู้จัดการหอพักเอกชนอีกใบหนึ่งด้วย
ใบอนุญาตนำเข้า-ส่งออก
ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจนำเข้า-ส่งออก จะต้องลงทะเบียนเป็นผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกกับกรมศุลกากรก่อนจึงจะสามารถนำเข้าหรือส่งออกสินค้าได้ และในกรณีที่สินค้าที่ต้องการนำเข้าหรือส่งออกนั้นเป็นสินค้าที่มีมาตรการนำเข้าหรือส่งออก ผู้ประกอบการจะต้องขออนุญาตกับกรมการค้าต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสินค้านั้นๆ ด้วย ยกตัวอย่าง เช่น หากต้องการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าเกษตร ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการขออนุญาตกับกรมวิชาการเกษตร เป็นต้น
บริการรับจดทะเบียน อ.ย.
อาหาร/ยา/เครื่องสำอาง/เครื่องมือแพทย์/วัตถุอันตราย
ผู้ประกอบการที่ผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย สินค้าดังต่อไปนี้
- อาหาร
- ยา
- เครื่องสำอาง
- เครื่องมือแพทย์
- วัตถุอันตราย
จะต้องดำเนินขออนุญาตและขึ้นทะเบียนสินค้าดังกล่าวกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาก่อนที่จะผลิต นำเข้าหรือจัดจำหน่ายสินค้านั้นๆ ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัย เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับตัวสินค้า และเพื่อให้การประกอบธุรกิจนั้นเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย